วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การแต่งกลอน

Books-aj.svg aj ashton 01.png
ฉันทลักษณ์ไทย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์
ร่าย
ร้อยกรองแบบใหม่
กลวิธีประพันธ์
กลบท
กลอักษร


             โคลงสี่สุภาพ
              เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปรากฏในวรรณคดีไทยมานานแล้ว วรรณคดีไทยฉบับที่เก่าและมีชื่อเสียงมากฉบับหนึ่งคือ "ลิลิตพระลอ" มีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งถูกยกมาเป็นบทต้นแบบที่แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ คือนอกจากจะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้ว ยังบังคับให้มีวรรณยุกต์เอกโทในบางตำแหน่งด้วย กล่าวคือ มีเอก 7 แห่ง และโท 4 แห่ง เรียกว่า เอกเจ็ดโทสี่

             การประพันธ์โคลงสี่สุภาพ
            การประพันธ์โคลงสี่สุภาพเป็นประณีตศิลป์ ที่ใช้ถ้อยคำตัวอักษรเป็นสื่อแสดงความคิดของผู้สรรค์สร้าง ซึ่งต้องการสะท้อนอารมณ์สะเทือนใจและก่อให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย ผู้อ่านต้องรับรู้ความงามด้วยใจโดยตรง ดังนั้นผู้สร้างสรรค์งานวรรณศิลป์จึงต้องช่างสังเกต รู้จักพินิจพิจารณามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามหรือคาดไม่ถึง และใช้ถ้อยคำที่ละเมียดละไม ผลงานนั้นจึงจะทรงคุณค่า

             ลักษณะโคลงสี่สุภาพ
             คณะของโคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3 จะมี 2 คำ (ในบาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำ
ส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้

          บาทที่ 1 (บาทเอก) วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท
          บาทที่ 2 (บาทโท) วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
          บาทที่ 3 (บาทตรี) วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอก
          บาทที่ 4 (บาทจัตวา) วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท

หนังสือจินดามณี ของ พระโหราธิบดี อธิบายการประพันธ์โคลงสี่สุภาพไว้ว่า

สิบเก้าเสาวภาพแก้วกรองสนธิ์
จันทรมณฑลสี่ถ้วน
พระสุริยะเสด็จดลเจ็ดแห่ง
แสดงว่าพระโคลงล้วนเศษสร้อยมีสอง

  • เสาวภาพ หรือ สุภาพ หมายถึงคำที่มิได้กำหนดรูปวรรณยุกต์ ทั้ง เอก โท ตรี และจัตวา (ส่วนคำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับเรียกว่า พิภาษ)
  • จันทรมณฑล หมายถึง คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์โท 4 แห่ง
  • พระสุริยะ หมายถึง คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอก 7 แห่ง
  • รวมคำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอกและโท 11 คำ หรือ อักษร
  • โคลงสุภาพบทหนึ่งมี 30 คำ (ไม่รวมสร้อย)
  • คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอก อาจใช้คำตายแทนได้
  • คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์โท แทนด้วยคำอื่นไม่ได้ ต้องใช้รูปโทเท่านั้น
  • คำที่ไม่กำหนดรูปวรรณยุกต์ หรือคำสุภาพมี 19 คำ มีหรือไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็ไม่ถือว่าผิด
  • ในชุด 19 คำแม้ไม่กำหนดรูปวรรณยุกต์ ในท้ายวรรคทุกวรรคต้องไม่มีรูปวรรณยุกต์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำให้น้ำหนักของโคลงเสียไป ได้แก่คำที่กากบาทในแผนผังข้างล่าง

๐ ๐ ๐ เอก โท๐ X (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ Xเอก โท
๐ ๐ เอก ๐ X๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ X

         โคลงสี่สุภาพที่มีรูปวรรณยุกต์ตรงตามบังคับนั้นมีตัวอย่างอยู่หลายเรื่อง เช่น ลิลิตพระลอ โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศพระประธม เป็นต้น ตัวอย่างจากหนังสือจินดามณี พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ว่าดังนี้

นิพนธ์กลกล่าวไว้เป็นฉบับ
พึงเพ่งตามบังคับถี่ถ้วน
เอกโทท่านลำดับโดยที่ สถิตนา
ทุกทั่วลักษณะล้วนเล่ห์นี้คือโคลง

การแต่งโคลงสี่สุภาพต่อกันหลายๆ บท เป็นเรื่องราวอย่างโคลงนิราศ โคลงเฉลิมพระเกียรติ โคลงสุภาษิต หรือโคลงอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ อาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ โคลงสุภาพชาตรี และ โคลงสุภาพลิลิต
  • โคลงสุภาพชาตรี ไม่มีสัมผัสระหว่างบท ส่วนใหญ่กวีนิพนธ์แบบเก่าจะนิยมแบบนี้เป็นส่วนมาก
  • โคลงสุภาพลิลิต มีการร้อยสัมผัสระหว่างบท โดยคำสุดท้ายของบทต้นต้องส่งสัมผัสสระ ไปยังคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ในบทต่อไป

1. บุเรงนองนามราชเจ้าจอมรา มัญเฮย
ยกพยุหแสนยายิ่งแกล้ว
มอญม่านประมวลมาสามสิบ หมื่นแฮ
ถึงอยุธเยศแล้วหยุดใกล้นครา
2. พระมหาจักรพรรดิเผ้าภูวดล สยามเฮย
วางค่ายรายรี้พลเพียบหล้า
ดำริจักใคร่ยลแรงศึก
ยกนิกรทัพกล้าออกตั้งกลางสมร
3. บังอรอัคเรศผู้พิศมัย ท่านนา
นามพระสุริโยทัยออกอ้าง
ทรงเครื่องยุทธพิไชยเช่นอุปราชแฮ
เถลิงคชาธารคว้างควบเข้าขบวนไคล
โคลงภาพเรื่องพระราชพงศาวดาร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น