วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การแต่งกลอน

Books-aj.svg aj ashton 01.png
ฉันทลักษณ์ไทย
กาพย์
กลอน
โคลง
ฉันท์
ร่าย
ร้อยกรองแบบใหม่
กลวิธีประพันธ์
กลบท
กลอักษร


             โคลงสี่สุภาพ
              เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองชนิดหนึ่ง ซึ่งมีปรากฏในวรรณคดีไทยมานานแล้ว วรรณคดีไทยฉบับที่เก่าและมีชื่อเสียงมากฉบับหนึ่งคือ "ลิลิตพระลอ" มีโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งถูกยกมาเป็นบทต้นแบบที่แต่งได้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ คือนอกจากจะมีบังคับสัมผัสตามที่ต่าง ๆ แล้ว ยังบังคับให้มีวรรณยุกต์เอกโทในบางตำแหน่งด้วย กล่าวคือ มีเอก 7 แห่ง และโท 4 แห่ง เรียกว่า เอกเจ็ดโทสี่

             การประพันธ์โคลงสี่สุภาพ
            การประพันธ์โคลงสี่สุภาพเป็นประณีตศิลป์ ที่ใช้ถ้อยคำตัวอักษรเป็นสื่อแสดงความคิดของผู้สรรค์สร้าง ซึ่งต้องการสะท้อนอารมณ์สะเทือนใจและก่อให้ผู้อ่านคล้อยตามไปด้วย ผู้อ่านต้องรับรู้ความงามด้วยใจโดยตรง ดังนั้นผู้สร้างสรรค์งานวรรณศิลป์จึงต้องช่างสังเกต รู้จักพินิจพิจารณามองเห็นจุดที่คนอื่นมองข้ามหรือคาดไม่ถึง และใช้ถ้อยคำที่ละเมียดละไม ผลงานนั้นจึงจะทรงคุณค่า

             ลักษณะโคลงสี่สุภาพ
             คณะของโคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมี 4 บาท (เขียนเป็น 4 บรรทัด) 1 บาทแบ่งออกเป็น 2 วรรค โดยวรรคแรกกำหนดจำนวนคำไว้ 5 คำ ส่วนวรรคหลัง ในบาทที่ 1,2 และ 3 จะมี 2 คำ (ในบาทที่ 1 และ 3 อาจเพิ่มสร้อยได้อีกแห่งละ 2 คำ) ส่วนบาทที่ 4 วรรคที่ 2 จะมี 4 คำ รวมทั้งบท มี 30 คำ และเมื่อรวมสร้อยทั้งหมดอาจเพิ่มเป็น 34 คำ
ส่วนที่บังคับ เอก โท (เอก 7 โท 4) ดังนี้

          บาทที่ 1 (บาทเอก) วรรคแรก คำที่ 4 เอก และคำที่ 5 โท
          บาทที่ 2 (บาทโท) วรรคแรก คำที่ 2 เอก วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท
          บาทที่ 3 (บาทตรี) วรรคแรก คำที่ 3 เอก วรรคหลัง คำที่ 2 เอก
          บาทที่ 4 (บาทจัตวา) วรรคแรก คำที่ 2 เอก คำที่ 5 โท วรรคหลัง คำแรก เอก คำที่ 2 โท

หนังสือจินดามณี ของ พระโหราธิบดี อธิบายการประพันธ์โคลงสี่สุภาพไว้ว่า

สิบเก้าเสาวภาพแก้วกรองสนธิ์
จันทรมณฑลสี่ถ้วน
พระสุริยะเสด็จดลเจ็ดแห่ง
แสดงว่าพระโคลงล้วนเศษสร้อยมีสอง

  • เสาวภาพ หรือ สุภาพ หมายถึงคำที่มิได้กำหนดรูปวรรณยุกต์ ทั้ง เอก โท ตรี และจัตวา (ส่วนคำที่มีรูปวรรณยุกต์กำกับเรียกว่า พิภาษ)
  • จันทรมณฑล หมายถึง คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์โท 4 แห่ง
  • พระสุริยะ หมายถึง คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอก 7 แห่ง
  • รวมคำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอกและโท 11 คำ หรือ อักษร
  • โคลงสุภาพบทหนึ่งมี 30 คำ (ไม่รวมสร้อย)
  • คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์เอก อาจใช้คำตายแทนได้
  • คำที่กำหนดรูปวรรณยุกต์โท แทนด้วยคำอื่นไม่ได้ ต้องใช้รูปโทเท่านั้น
  • คำที่ไม่กำหนดรูปวรรณยุกต์ หรือคำสุภาพมี 19 คำ มีหรือไม่มีรูปวรรณยุกต์ก็ไม่ถือว่าผิด
  • ในชุด 19 คำแม้ไม่กำหนดรูปวรรณยุกต์ ในท้ายวรรคทุกวรรคต้องไม่มีรูปวรรณยุกต์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะจะทำให้น้ำหนักของโคลงเสียไป ได้แก่คำที่กากบาทในแผนผังข้างล่าง

๐ ๐ ๐ เอก โท๐ X (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ Xเอก โท
๐ ๐ เอก ๐ X๐ เอก (๐ ๐)
๐ เอก ๐ ๐ โทเอก โท ๐ X

         โคลงสี่สุภาพที่มีรูปวรรณยุกต์ตรงตามบังคับนั้นมีตัวอย่างอยู่หลายเรื่อง เช่น ลิลิตพระลอ โคลงนิราศนรินทร์ โคลงนิราศพระประธม เป็นต้น ตัวอย่างจากหนังสือจินดามณี พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงวงษาธิราชสนิท ว่าดังนี้

นิพนธ์กลกล่าวไว้เป็นฉบับ
พึงเพ่งตามบังคับถี่ถ้วน
เอกโทท่านลำดับโดยที่ สถิตนา
ทุกทั่วลักษณะล้วนเล่ห์นี้คือโคลง

การแต่งโคลงสี่สุภาพต่อกันหลายๆ บท เป็นเรื่องราวอย่างโคลงนิราศ โคลงเฉลิมพระเกียรติ โคลงสุภาษิต หรือโคลงอธิบายเหตุการณ์ต่างๆ อาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ โคลงสุภาพชาตรี และ โคลงสุภาพลิลิต
  • โคลงสุภาพชาตรี ไม่มีสัมผัสระหว่างบท ส่วนใหญ่กวีนิพนธ์แบบเก่าจะนิยมแบบนี้เป็นส่วนมาก
  • โคลงสุภาพลิลิต มีการร้อยสัมผัสระหว่างบท โดยคำสุดท้ายของบทต้นต้องส่งสัมผัสสระ ไปยังคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ในบทต่อไป

1. บุเรงนองนามราชเจ้าจอมรา มัญเฮย
ยกพยุหแสนยายิ่งแกล้ว
มอญม่านประมวลมาสามสิบ หมื่นแฮ
ถึงอยุธเยศแล้วหยุดใกล้นครา
2. พระมหาจักรพรรดิเผ้าภูวดล สยามเฮย
วางค่ายรายรี้พลเพียบหล้า
ดำริจักใคร่ยลแรงศึก
ยกนิกรทัพกล้าออกตั้งกลางสมร
3. บังอรอัคเรศผู้พิศมัย ท่านนา
นามพระสุริโยทัยออกอ้าง
ทรงเครื่องยุทธพิไชยเช่นอุปราชแฮ
เถลิงคชาธารคว้างควบเข้าขบวนไคล
โคลงภาพเรื่องพระราชพงศาวดาร




วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทรงพระเจริญ วันพ่อแห่งชาติ 2553

เนื่องในโอกาศ วันพ่อแห่งชาติ ปี 2553
 
    ขอพระองทรงพระเจริญยั่งยื่นนาน



80 ปี ชนชาวไทย น้อมใจภักดิ์
ร้อยรวมรัก สมัครจิต อุทิศผล
ด้วยผองไทย ใจมนุษย์ สูงสุดชน
มหามงคล ฉลองชนม์ องค์ภูมี
ขอทวยไท้ เทวดา มาสถิต
ฉลองกิจ เฉลิมกาล สานราศี
หลายล้านใจ ถักทอ ก่อกรรมดี
ขอบารมี ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ ( นับพันนับหมื่นปี )


 
พระทรงเป็น ยิ่งกว่า มหากษัตริย์
พระทรงเป็น นักปฏิบัติ สืบค้นหา
พระทรงเป็น นักคิด พิจารณา
พระทรงเป็น นักพัฒนา คู่ฟ้าไทย
พระทรงธรรม น้อมนำ ธรรมชาติ
พระเปรื่องปราชญ์ ชัดแจ้ง แถลงไข
พระทรงสร้าง ทางถูก ให้ลูกไทย
พระมหากษัตริย์ไทย ครองใจ ไทยทุกดวง



60 ปี มหาราช ฉัตรปกเกล้า
ไทยทุกเผ่า ร้อยรัก สมัครสมาน
ทศพิธ ราชธรรม น้อมนำกาล
พระทรงงาน ยอดยิ่ง มิ่งเมืองไทย
เป็นแบบอย่าง ทางถูก ให้ลูกหลาน
ก่อเกิดการ งานหลัก จากพิสัย
ให้รักษ์น้ำ รักษ์ดิน คู่ถิ่นไทย
น้ำพระทัย มหาราช ของชาติไทย
เศรษฐกิจ พอเพียง เลี้ยงชีวิต
ทรงอุทิศ เวลา เงินตราให้
พระตรากตรำ ทำเอง จากจิตใจ
ต้องการให้ เห็นจริง ทุกสิ่งงาน
ความสำเร็จ เสร็จสม อารมณ์หวัง
เสริมพลัง สร้างความคิด ลิขิตขาน
พระทรงชัย ไตร่ตรอง มองเหตุการณ์
เพื่อลูกหลาน รุ่งเรือง เมืองไทยงาม

                                                                                               พ่อคือพระ คือครู คือผู้ให้
                                                                                               คือแรงใจ ให้เรา ไม่หวังผล
                                                                                               พ่อให้รัก ให้กำเนิด เกิดเป็นคน
                                                                                               จะยากดี มีจน ขอเกิดเป็นลูกพ่อตลอดไป
                   


                                                                                  ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า นางสาวไพรินทร์   บัวทอง  และ  นายจักรพล   คณาเสน